วันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2552

การบวงสรวงเทวดา


ในเรื่องการบวงสรวงบูชาเทวดา อันเป็นคติประเพณีตามลัทธิไสยศาสตร์ แต่ในทางพุทธศาสนาเราก็มิได้ปฎิเสธว่า เทวดาเป็นสิ่งที่ไม่มีจริง ยังคงได้รับคำรับรองว่าเป็นสิ่งมีจริง แม้ท่านนักปราชญ์ในพระพุทธศาสนาเรา นับแต่ครั้งโบราณมาก็มิได้เป็นผู้คัดค้าน ล้วนแต่ได้มีความเชื่อถืออย่างแน่นแฟ้นทั้งนั้น อาทิเช่น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระเจ้าแผ่นดินองค์ที่ 4 แห่ง รัตนโกสินทร์นี้ เมื่อได้ตรวจดูพระราชประวัติของพระองค์ ท่านทรงเป็นเอตทัคคะ ในทางพุทธศาสตร์ รัฐศาสตร์ และโหราศาสตร์ ขณะใดที่พระองค์ท่านทรงประสบโชคเคราะห์ ก็ได้ทรงรับสั่งว่า เป็นด้วยมหิทธานุภาพของเทวดา และได้จัดการตั้งพระราชพิธีบวงสรวงเทวดา ขอบพระทัยเทวดา ไม่ให้ถูกเคราะห์โดยเต็มที่นัก ท่านโหราจารย์แต่ปางก่อน จึงพยายามหาทางออกให้ผู้เคราะห์ร้าย โดยให้ได้รับเคราะห์เพียงเบาๆ ไม่ถึงกับหนักหนา เช่น ประกอบพิธีสะเดาะพระเคราะห์

เพราะ การสะเดาะพระเคราะห์นั้น ผู้กระทำก็จำเป็นต้องเสียทรัพย์สินเงินทอง จัดเครื่องบูชาเทวดาเป็นอามิสพลี และการประกอบการบุญเป็นธรรมพลีอีกประการหนึ่ง แต่การเสียชนิดนี้เป็นการเสียเพื่อดี ทั้งเป็นเครื่องบำรุงขวัญให้ผู้ประสบเคราะห์กรรมนั้นหายหวาดกลัว จะได้มีสติต้านทานเหตุการณ์ต่างๆที่จะเกิดขึ้นได้

พิธีกรรม สะเดาะเคราะห์นั้ ตามที่ได้ปฎิบัติกันทุกวันนี้ นอกจากจะจัดเครื่องเทวะพลีเพื่อบูชาเทวดา ขอให้ระงับโทษแล้ว ยังมีพิธีทางพุทธศาสนา โดยนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระปริตด้วย

การ ประกอบพิธีสะเดาะเคราะห์ ซึ่งจัดทำแต่ดั้งเดิมโดยลัทธิไสยศาสตร์ที่แท้จริงนั้น เป็นการจัดทำโดยพิธียัญญกิจ และมีการร่ายเทวบูชาเทวดา

แต่ เมื่อตกทอดมาถึงพวกเราในยุคปัจจุบันนี้ พิธีกรรมได้ถูกดัดแปลงแก้ไขจากของเดิม แม้โหรผู้กระทำแต่เดิมมาก็เป็นพราหมณ์ ขณะนี้ก็เป็นโหรไทยแท้ทั้งนั้น ยัญญกิจก็ลดคงเหลือแต่เพียงบัตรพลีและเครื่องสังเวยบูชาพอสมควร มนต์ที่ได้ร่ายในการบูชาปัดเป่า ก็กลับกลายเป็นพระพุทธมนต์ โดยนำพระปริต 12 ตำนาน มาสวด เลือกตำนานที่ตรงกับเทวดาดาวพระเคราะห์องค์ที่บูชานั้นสวด และผู้สวดแทนที่จะเป็นพราหมณ์ก็กลับนิมนต์พระสงฆ์เป็นผู้สวด เรื่องร้ายที่จะปรากฎขึ้นก็กลับระงับไป ถึงแม้จะมีก็เป็นเพียงเบาบางเท่านั้น เมื่อปรากฎผลดีขึ้นเช่นนี้ จึงมีผู้นิยมทำกันเป็นส่วนมาก บางท่านที่ศรัทธาแก่กล้า ถึงแม้จะไม่มีเคราะห์อะไรเกิดขึ้น แต่เมื่อจะจัดทำบุญอายุ หรือทำบุญวันเกิดก็มักจะให้โหรจัดพิธีขึ้น เพื่ออุทิศที่ได้ทรงอนุกูลแด่พระองค์ท่าน ซึ่งเป็นเครื่องแสดงว่า เรื่องเทวดานี้มิใช่เรื่องเหลวไหล คงเป็นสิ่งที่เชื่อถือกันทั้งทางไสยศาสตร์และพุทธศาสตร์ ผู้ที่จะได้เป็นเทวดานั้น ต้องเป็นผู้ที่อบรมคุณงามความดีไว้เป็นอย่างมาก จนบารมีแก่กล้าพอที่จะเป็นเทวดาได้ ฉะนั้นการเคารพบูชาเทวดา ก็คือการเคารพต่อผู้มีคุณงามความดีนั่นเอง สมดังพุทธภาษิตว่า "ปูชา จะ ปูชะนียัง เอตัง มังคะละมุตตะมัง" การบูชาผู้ที่มีคุณงามความดี อันควรแก่การบูชานั้น เป็นมงคลอันประเสริฐหาโทษมิได้เลย

เทวดา ที่กล่าวไว้ในตำราโหราศาสตร์ เท่าที่บันดาลอิทธิพลให้แก่ดวงชะตาบุคคลทั่วๆไปนั้น ได้แก่ เทวดาพระอาทิตย์ พระจันทร์ พระอังคาร พระพุธ พระเสาร์ พระพฤหัสบดี พระราหู พระศุกร์ พระเกตุ รวม 9 องค์ด้วยกัน หรือเรียกว่า เทวดานพเคราะห์ ซึ่งเป็นดาวเคราะห์และอุปเคราะห์อันแสดงปรากฎการณ์อยู่บนฟากฟ้า นับถือมั่นกันว่าเป็นผู้ศักดิ์สิทธ์ ที่สามารถหันเหียนชะตาชีวิตมนุษย์เราให้ประสบโชคเคราะห์ได้ และการที่จะทราบได้ว่า เทวดาองค์ใดที่จะบันดาลคุณโทษให้นั้นก็รู้ได้จากโหร ซึ่งทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างเทพเจ้ากับมนุษย์ ผู้ชี้บอกด้วยอาศัยการคำนวณพยากรณ์ ในระยะใดที่เข้าเขตข่ายเคราะห์ ก็ยังความตื่นเต้นหวาดกลัวให้แก่เจ้าชะตา ทั้งนี้ก็เพราะเหตุตามที่กล่าวมาแล้ว ว่ามนุษย์เรามีความกลัวเป็นต้นทุนประจำอยู่แล้ว และมนุษย์เป็นผู้มีสัญชาตญาณสูง เมื่อรู้ตัวว่าตนเองจะได้รับเคราะห์ภัย ก็ดิ้นรนหาทางหลีกเลี่ยง ซึ่งสุดแล้วแต่จะมีทางพอที่จะเอาตัวรอดไปได้ เช่นรู้ตัวตัวว่าจะมีเคราะห์ ก็หาทางออกด้วยการเดินทางโยกย้ายเปลี่ยนแปลงที่อยู่ หรือทำพิธีสะเดาะเคราะห์ ขออำนาจพุทธานุภาพ เทวานุภาพ ให้ช่วยคุ้มครองบรรเทาโทษร้ายให้แปลเป็นคุณ และยังมีวิธีการอื่นๆอีกมาก

การ ต้องเคราะห์ร้ายของบุคคลเรานั้น มีอยู่หลายประการด้วยกัน เช่น การเจ็บไข้ เสียทรัพย์สินเงินทอง ถูกฟ้องร้องเป็นคดีขึ้นโรงขึ้นศาล ถูกอุบัติภัย พลัดพรากจากบุตรภรรยาหรือสามี ฯลฯ เหล่านี้เป็นเคราะห์ร้ายของบุคคลทั้งนั้น เมื่อโหรพยากรณ์ว่า ชะตาต้องประสบเคราะห์ร้าย ก็มักจะไม่แคล้วที่จะพบกับเคราะห์กรรมดังกล่าวนี้ ในประการใดประการหนึ่งตามที่กล่าว ควรที่จะหลีกเลี่ยง ไปทำกุศลให้กับเทวดาที่คุ้มครองดวงชะตา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น