วันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2552

การบูชาพระพฤหัสบดี


การบูชาพระพฤหัสบดี
ตามคัมภีร์ไตรเทพนั้นได้บันทึกไว้ว่า พระพฤหัสบดีเป็นเทพองค์เดียวกับพระอัคคี หรือพระเพลิง
นั่นเอง
แต่ในคัมภีร์ของทางลัทธิพราหมณ์ได้บันทึกไว้ว่า พระพฤหัสบดีเป็นเพทที่เป็นเสมือนครุของเหล่าเทพทุกพระองค์
หากจะประกอบพิธีกรรมเพื่อบวงสรวงบูชาพระพฤหัสบดีแล้ว ก็สามารถกระทำได้ โดยการบวงสรวงบูชาพระอัคคีหรือพระเพลิงแล้วเอ่ยอ้างถึงพระพฤหัสบดีด้วย
หรือจะทำการบวงสรวงบูชาพระพฤหัสบดีโดยแยกมาพิธีกรรมต่างหาก ไม่รวมกับพระอัคคีก็
สามารถกระทำได้เช่นกัน
เครื่องบวงสรวงบูชา
การจะบูชาพฤหัสบดีสามารถเตรียมเครื่องบูชา ดังนี้
ผ้าแพรพรรณสีเหลืองแก่ สีส้ม
รูปปั้นหรือแกะสลักเล็ก ๆ ที่เป็นรูปพระฤษีหรือพระเศียรของพระฤษี
ข้าวตอก น้ำนม หนังสือ
ดอกไม้สีเหลือง แก่หรือสีส้ม
พวงมาลัยดาวเรือง
ขนมหวาน 7 ชนิด
ผลไม้ 5 ชนิด (ผลไม้รสหวานเท่านั้น)
การขอพร
ในลัทธิพราหมณ์ที่มีการบวงสรวงบูชาพระพฤหัสบดีแยกออกจาการบวงสรวงพระอัคนีหรือ
พระเพลิงนั้น มักจะบูชาขอพรดังต่อไปนี้
ขอพรให้มีความฉลาดหลักแหลม มีปัญญาลึกซึ้ง
ขอมีสงบสันติในครอบครัว ไม่มีเรื่องวุ่นวายเดือดร้อนขัดแย้งกับใคร ๆ
ขอให้ได้รับความยุติธรรม ความเที่ยวธรรม ขอให้พ้นภัยจากความอยุติธรรม
ขอพรให้พ้นพ้นจากภัยอันเป็นโทษจากการถูกใส่ความหรือได้รับโทษทัณฑ์ต่าง ๆ
นอกจากนั้นคนที่สนใจเรียนรู้เรื่องศาสตร์การพยากรณ์ก็มักจะ มีการบวงสรวงบูชาพระพฤหัสบดี โดยการขอพรให้เกิดญาณวิเศษหยั่งรู้เรื่องอันเร้นลับ หรือขอให้สามารถเรียนรู้เรื่องการพยากรณ์ได้สำเร็จนั่นเอง
ช่วงเวลาในการบูชา
การบวงสรวงบูชาพระพฤหัสบดีนั้น สามารถประกอบพิธีกรรมในช่วงใดก็ได้ตลอดปี โดยเลือกเอาวันพฤหัสบดีเป็นที่ตั้ง ส่วนที่สามารถเจาะจงไปได้นั้นมีอยู่ 2 เดือน ในระหว่างปี คือเดือนมีนาคม และธันวาคม
รูปลักษณ์
พระพฤหัสบดีนั้นมีรูปลักษณ์เป็นพระฤาษี
พระวรกายนั้นสีนวลพิสุทธิ์ ทรงนุ่งห่มด้วยหนังเสือบ้าง หนังกวางบ้าง ในบางแห่งก็ปรากฏ
รูปเคารพของพระฤาษีหรือพระพฤหัสบดีเทพ เป็นภัสตาภรณ์ บุษราคัม สีเหลืองแก่เปล่งประกายแวววาว
พาหนะของพระฤาษีเทพคือ พญาเนื้อ
ข้อมูลดีๆจาก http://www.sartsaksit.net/ ขอบคุณมากค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น