วันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2552

พระพรหม


พระพรหม
ในอินเดียสมัยโบราณ พระพรหมเป็นเทพผู้สร้างโลก ได้รับการยกย่องโดยพวกพราหมณ์ ให้มีฐานะเท่าเทียมกับพระวิษณุ (ผู้คุ้มครองโลก) และพระศิวะ (ผู้ทำลายโลก) วิวัฒนาการทางความเชื่อทางศาสนา และศิลปกรรมของอินเดียมีการ เปลี่ยนแปลง ตามแคว้นต่างๆ เสมอรวมถึงการเปลี่ยนแปลงตามประเพณีความเชื่อในช่วงสมัยนั้นๆ โดยมีการนับถือตามนิกายต่างๆ ของความ เชื่อที่มีอยู่นั้น เช่น

นิกายไศวะ หรือศิวนิกาย และนิกายไวษณพ หรือวิษณุนิกาย ทั้ง 2 นิกายให้ความเคารพนับถือเทพ คือพระศิวะ และ พระวิษณุเป็นพิเศษ จึงลดความศรัทธาความเชื่อถือพระพรหมลง และเมื่อเวลาผ่านถึง ค.ศ. ที่ 10 ชาวฮินดูจึงหันมาให้ความเคารพ นับถือพระพรหมจากที่นิกายไศวะ และนิกายไวษณพ ซึ่งมีการแข่งขันกันทางด้านความเชื่ออยู่ พระพรหมจึงกลายเป็นเทพองค์ สำคัญขึ้นใหม่ โดยมีการสร้างเทวาลัย และรูปปั้นไว้เป็นจำนวนมาก

พระพรหมได้รับการนับถือบูชาในฐานะที่พระองค์เป็นผู้สร้างของทุกสิ่งทุกอย่าง ให้เกิดขึ้นบนโลก พระองค์ทรงเป็นผู้ให้ที่สำคัญ และเป็นผู้กำหนดโชคชะตาของมนุษย์

พระนาม ที่เรียกขานกันมีมากมายนอกเหนือจากพระพรหม หรือ พระพรหมธาดา เป็นต้นว่า

ราชคุณ หมายถึง ความมีกิเลศและความปราถนา และมูลเหตุของการสร้างโลกทั้งปวง

สวายัมภู หมายถึง ผู้เกิดเอง

กมลสาส์น และปัทมสาส์น หมายถึง ผู้นั่งบนดอกบัว ซึ่งเกิดมาจากสะดือของพระวิษณุ

คัมภีร์ฤคเวทย์ ปรากฏพระนาม ปชาบดี

คัมภีร์รามายณะ ปรากฏพระนามอื่นๆ คือ ปรเมศวร วิธิ-เวธาส อทิกวี สนัต ชาตริวิชาตริ ปิตามหะ ทรุหิณ-สราษฎริ โลเกศ


ลักษณะทางศิลปะ

รูปเคารพของพระพรหมที่พบในปัจจุบันมีรูปเคารพ 4 ปาง 5 พระนาม ซึ่งมีลักษณะทางศิลป ดังนี้

ปางประชาบดี พระพรหม พระวรกายสีขาว สวมอาภรณ์หนังกวางสีดำพาดบ่า มี 4 พักตร์ 4 กร ถือช้อน แจกัน และการทำปางประทานพร

ด้านขวาของพระพรหม มีรูปเทพธิดาสรัสวดี

ด้านซ้ายของพระพรหม มีรูปเทพธิดาสาวิตรียืนประทับอยู่

พาหนะคือ หงส์

ปางโลกบาล พระพรหมมี 4 พักตร์ 4 กร ถือลูกประคำ หนังสือ ดอกบัว และแจกัน ด้านข้างมีนางสาวิตรี (4 พักตร์) ประทับยืนด้วย

ปางวิศวกรรม พระพรหมมี 4 พักตร์ 4 กร ถือ ช้อน หนังสือ แจกัน และลูกประคำ

ปางกามลักษณะ ปางปิตมหา พระพรหมมี 4 พักตร์ พระเกศามุ่นขมวด มี 4 กร ถือ หนังสือ แจกัน หม้อ และช้อน


คาถาบูชาพระพรหม

มหาเทพผู้สร้างโลกและหนึ่งในเทพตรีมูรติ ซึ่งถือเป็นมหาเทพสูงสุด

เทศกาล ที่มีการบวงสรวงคือ เทศกาลปูชการ์คาเมลา จัดช่วงปลายเดือนตุลาคม-ต้นเดือนพฤศจิกายนของทุกปี จัดเพื่อเฉลิมฉลอง แต่ในประเทศไทย ชาวไทยและชาวจีนได้จัดบวงสรวงบูชาพระพรหมตลอดปี โดยการถวยรูปปั้นช้าง ม้า ถวายพวงมาลัย 7 สี อาหารหวานคาวต่างๆ ที่นิยมคือ การบนด้วยการแสดงฟ้อนรำ

ผู้ที่บูชาต้องทำความดีตั้งอยู่ในพรหมวิหาร 4 จึงจะเป็นผู้ได้ผลสัมฤทธิรวดเร็ว


พรหมวิหาร 4

เมตตา คือปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข

กรุณา คืออยากช่วยผู้อื่นให้พ้นทุกข์

มุทิตา คือยินดีที่ผู้อื่นได้ดี

อุเบกขา คือวางใจเป็นกลาง

คาถาบูชา

โอมปะระเมสะนะมัสการัม

องการะนิสสะวะ รัง พรหมเรสสะยัม ภูปัสสะวะ

วิษณุ ไวยะทานะโมโทติลูกปัม ทะระมา ยิกยานัง ยะไวยะลา คะมุลัมสะทานันตะระ วิมุสะตินัน นะมัตเต นะมัตเตร

จะ อะการัง ตะโถวาจะ เอตามาตาระยัต ตะมันตะรามา กัตถะนารัมลา จะสะระวะปะติตัม สัมโภพะ กลโก ทิวะทิยัม มะตัมยะ

ขอขอบคุณ

http://members.thai.net/theptheva/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น