วันศุกร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2552

ไสยศาสตร์


คำบูชาพระพรหม

โอม...พระพรหมา ปฏิพาหายะ ทุติยัมปิ...พระพรหมา ปฏิพาหายะ ตะติยัมปิ...พระพรหมา ปฏิพาหายะฯ

คำบูชาพระพรหม(อีกบทหนึ่ง)

โอมปะระเมสะนะมัสสะการัม โองการนิสสะวะรัง พรหมมะเรสสะยัม ภูปัสสะวะวิษณุ ไวยะทานะ โมโทติลูกปัม ทะระมายิกยานัง ยะไวยะลา คะมุลัม สะทานันตะระ วิมุสะตินัน นะมัตเตนะมัตเตร จะอะการังตะโถวาจะ เอตามาตาระยัต ตะมันตะรามา กัตถะนารัมลา จะสะระวะปะติตัม สัมโพภะกลโล ทิวะทิยัมมะตัมยะฯ


ไสยศาสตร์ หรือ ศาสตร์มืด คือการทำ "คุณไสย" ในพจนานุกรมไทยให้คำจำกัดความ คุณไสย ว่า "เป็นพิธีกรรมเพื่อทำร้ายอมิตร" เป็นศาสตร์ที่ทางวิทยาศาสตร์ไม่อาจจะพิสูจน์ได้ แต่เป็นที่รู้จักกันทั่วไป และมีคนเชื่อและผู้ปฏิบัติทั่วโลก

ในแต่ละชุมชนจะมีรูปแบบของไสยศาสตร์ที่แตกต่างกันออกไป แต่สรุปแล้วไสยศาสตร์ก็คือการทำให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น โดยผิดแปลกจากกฏของธรรมชาติ เช่น ทำให้สามีภรรยาที่ดีกันทะเลาะและแยกทางกัน ทำให้สาวหลงรักหนุ่มที่เคยเกลียด ซึ่งปกติแล้วจะใช้ไสยศาสตร์มาใช้ในทางที่ชั่วร้าย โดยเฉพาะการทำ "คุณไสย" ที่เป็นพิธีกรรมเพื่อทำร้ายผู้ไม่เป็นมิตรด้วยการปลุกเสกสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เข้าไปในตัว หรือฝังรูปฝังรอย หรือการทำเสน่ห์ยาแฝด ลงนะ จากผู้ที่อ้างตัวว่ามีอาคม ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเป็นพวกที่ทำมาหากินด้วยการหลอกลวงผู้คน หรือที่เรียกว่า พวกสิบแปดมงกุฎ ถึงกระนั้นก็ตามคุณไสยหรือ มนต์ดำยังมีผู้หลงงมงายมากมาย

ไสยศาสตร์ถือเป็นศาสตร์ที่ลี้ลับมีมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ และมีทั่วโลกแม้กระทั่งในเวลาปัจจุบัน แม้รูปแบบจะแตกต่างกัน แต่ก็มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ การทำอันตรายต่อผู้คนด้วยวิธีที่ลี้ลับ

ลัทธิไสยศาสตร์ คือการรวมอำนาจจิต รวมพลังงานทางจิตซึ่งได้ทำการอบรมจิตใจให้มีความยึดมั่น เชื่อถือ อย่างจริงจัง ดำเนินไปตามหลักทางไสยศาสตร์ ตามวิธีการนั้น ๆ ก็จะสามารถแสดงฤทธิ์ปาฎิหารย์ได้ด้วยกระแสคลื่นแห่งพลังอำนาจจิตอันแรงกล้า ของ มโนภาพ สมาธิ จิตตานุภาพ ทั้งสามประการนี้ จึงเป็นบ่อเกิดแห่งอำนาจที่ประหลาดมหัศจรรย์ขึ้นได้

ลัทธิไสยศาสตร์ ได้เกิดขึ้นมาก่อนพุทธกาล ในคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ ไตรเพท ในลัทธิของพราหมณ์ ได้แบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ

  1. ฤคเวทย์ เป็นคำฉันท์ใช้สำหรับสวดมนต์และสรรเสริญพระเจ้า
  2. ยชุรเวทย์ เป็นคำร้อยแก้วให้สำหรับท่องบ่นเวลาบวงสรวงบูชาพระเจ้า
  3. สามเวทย์ เป็นคำฉันท์ใช้สำหรับสวดมนต์ทำพิธีถวายน้ำโสม
  4. อาถรรพเวทย์ เป็นคัมภีร์ประกอบด้วยเวทยมนต์คาถาเรียกผีสาง เทวดาให้ช่วยป้องกันอันตรายให้ และให้มีการแก้อาถรรพ์ ทำพิธีสาปแช่งให้เป็นอันตรายได้ด้วย





ไสยศาสตร์
ไสยศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย ไสยศาสตร์ บ้างว่าเป็น ศาสตร์อันประเสริฐ บางคนว่าเป็น ศาสตร์แห่งความหลับใหล ความเชื่อ ไสยศาสตร์ มนต์ดำ เป็นคำไทยของคำสมาสว่า "ไศฺวศาสฺตร" แปลว่า "ศาสตร์ที่เนื่องด้วยจากพระศิวะ" หรือ "ศาสตร์ที่มาจากพระศิวะ"

การสักยันต์ ถือเป็นส่วนหนึ่งของ ไสยศาสตร์
ความเป็นมาของความรู้สายนี้นั้น ยังเป็นที่ถกเถียงกันมาตลอดว่า เป็นสิ่งที่น่าเชื่อถือ หรือเป็นสิ่งที่หลอกลวง นำไปสู่ ความงมงาย ความชัดเจนของศาสตร์แขนงนี้ในสังคมไทย ซึ่งเป็นสังคมที่วิทยาการสมัยใหม่กำลังเจริญรุ่งเรือง "ไสยศาสตร์" ถูกมองว่าเป็นรากเหง้าของความหลงงมงาย อันทำให้ประชาชนหลงเชื่อในสิ่งที่ไร้เหตุผล
ในประเทศไทย นั้นมีความพยายามอธิบายที่มาของ "ไสยศาสตร์" ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการอาศัยการวิเคราะห์ศัพท์จากภาษาบาลี ที่พบกันบ่อย มักมีการให้อรรถาธิบายว่า คำว่า "ไสย" มาจากคำว่า "เสยฺย" ในภาษาบาลี ซึ่งแปลว่า ประเสริฐ จึงทำให้แปลว่า ไสยศาสตร์ ว่าเป็น "ศาสตร์อันประเสริฐ" อย่างไรการอธิบายทฤษฎีนี้ ก็มิได้ให้ความสนใจแก่คำว่า ศาสตร์ ซึ่งเป็นศัพท์จากภาษาสันสกฤต
และอีกหลายท่านอธิบายคำว่า ไสย มาจากคำว่า ไสยาสน์ ซึ่งแปลว่า นอน และแปลคำว่า ไสยศาสตร์แปลว่า ศาสตร์แห่งความหลับใหล กระนั้นก็มิได้ให้อธิบายที่มาของศัพท์นี้ว่า มีรากศัพท์มาจากภาษาสันสกฤตเช่นกัน
ดร.นพ.มโน เมตตานันโท เลาหวณิช ที่ปรึกษาพิเศษในเลขาธิการใหญ่องค์การสมัชชาศาสนาเพื่อสันติแห่งโลก (ดับเบิลยูซีพีอาร์) บอกว่า เหตุผลสำคัญที่ทำให้การตีความของคำว่า ไสยศาสตร์ ตามทฤษฎีทั้งสองประการข้างต้นนี้ มิได้มีความสัมพันธ์กับหลักฐานทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรมของอินเดียและไทยเลย หากพิจารณ์ด้วยเหตุผลทางไวยากรณ์สันสกฤต และข้อมูลที่ได้รับจากการศึกษาประวัติศาสตร์ โบราณคดี และวรรณกรรมสามารถสรุปได้ว่า
คำว่า ไสยศาสตร์ เป็นคำศัพท์ที่รากมาจากภาษาสันสกฤตโดยตรง คือ เป็นคำสมาส ศาสตร์ หมายถึงแขนงหนึ่งของความรู้ และ ไสย มาจาก ไศวะ ซึ่งเป็นศัพท์สันกสฤต ที่เกิดจากการพฤตสระจากคำว่า ศิวะ โดยที่สระอิถูกพฤตให้เป็นสระ "ไอ" และ "ว" แปลงสภาพเป็น "ย" ซึ่งเป็นปรากฏการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นได้ง่ายตามหลักของภาษาศาสตร์ เพราะทั้ง "ว" และ "ย" นั้น เป็นพยัญชนะกึ่งสระ ซึ่งมีฐานกรณ์เดียวกัน เสียง "ว" จึงกลายเป็น "ย" ได้อย่างง่ายดาย
ในขณะเดียวกัน "ศ" กลายเป็น "ส" ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ทางเสียงที่เกิดขึ้นได้ง่ายในภาษาไทย เนื่องจาก "ศ" "ษ" และ "ส" นั้น ต่างออกเสียงเหมือนกัน คือ "ส" แทนได้ทั้งหมด
ไสยศาสตร์ เป็นคำศัพท์ในภาษาไทย ซึ่งมีรากเดิมจากภาษาสันสกฤตจากศัพท์ของคำสมาสว่า ไศฺวศาสฺตร (อ่านว่า ฉัย-วะ-ฉาสฺ-ตฺระ) ซึ่งแปลว่า "ศาสตร์ที่เนื่องด้วยจากพระศิวะ" หรือ "ศาสตร์ที่มาจากพระศิวะ" ดร.นพ.มโน กล่าวสรุป
พร้อมกันนี้ ดร.นพ.มโน ยังบอกด้วยว่า ลำพังการวิเคราะห์ศัพท์ให้ถูกต้องตามหลักวิชาไวยากรณ์สันสกฤตมิได้หมายความ ว่า สิ่งที่คนไทยมองเห็นว่าเป็นเรื่องไสยศาสตร์อันเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ การใช้เวทมนตร์ โองการและพิธีกรรมต่างๆ นั้น จะเป็นสิ่งที่ตรงกับความเชื่อในอินเดีย ซึ่งถือว่าเป็นความรู้ที่มาจากพระศิวะจริง เพราะความเชื่อและวัฒนธรรมประเพณีที่เกิดขึ้นในประเทศหนึ่ง ที่มีความแตกต่างทางค่านิยมดั้งเดิมของตนเองนั้น จะยังคงรักษาความดั้งเดิมไว้ได้เหมือนเมื่อครั้งอยู่ในประเทศต้นกำเนิด
นอกจากนี้แล้ว ความเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ของภาษาสันสกฤต เป็นมูลเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดศาสตร์ที่ต่อมารู้จักกันในหมู่คนไทยว่า ไสยศาสตร์
ความเชื่อทางไสยศาสตร์
แต่เนื่องจากพิธีกรรมที่ถูกจำกัดให้อยู่ในหมู่พราหมณ์ และการปฏิบัติกับคนต่างวรรณะในเชิงดูถูกและรังเกียจเดียดฉันท์ คัมภีร์ของศาสตร์ที่เนื่องด้วยพระศิวะเหล่านี้ ต่อมาภายหลังจึงสูญหายไป และต่อมาเมื่อพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้น คัมภีร์ภาษาบาลีจึงได้รับการปฏิบัติด้วยความเคารพในความศักดิ์สิทธิ์ในรูป แบบเดียวกัน และการใช้คัมภีร์บาลีของเถรวาทแทนสันสกฤต จึงเกิดขึ้น และเป็นที่แพร่หลายในเขมรและไทย ในขณะที่สัญลักษณ์และศัพท์ต่างๆ ที่เคยใช้กันมาอย่างคุ้นเคยจากสันสกฤต และศาสตร์ของพราหมณ์สายไศวะยังได้รับการยกย่องนับถือเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน เกิดการผสมผสานเป็น ไสยศาสตร์แบบไทย ซึ่งแตกต่างไปจาก ไสยศาสตร์แบบเขมร(คุณไสยมนต์ดำ มนต์ดำเขมร) และอินเดียประเทศต้นตำรับอย่างสิ้นเชิง ในที่สุดไสยศาสตร์ได้เข้ามาผสมผสานกับความเชื่อเรื่องผีของบรรพบุรุษ ไทยอย่างกลมกลืน
ความเชื่อไสยศาสตร์
ไสยศาสตร์ นั้นมิใช่เรื่องไม่มีเหตุมีผล แต่เป็นเรื่องของการใช้ อำนาจ ซึ่งมีระบบของเหตุผล หลักการ แหล่งของอำนาจหรือความศักดิ์สิทธิ์ อุปกรณ์ และกระบวนการต่างๆ อันมีขั้นตอน เพื่อให้ได้มาซึ่งวัตถุประสงค์ ที่ผู้ประกอบพิธีตั้งความปรารถนาไว้ ปัจจัยต่างๆ ของพิธีกรรมทางไสยศาสตร์นั้น มีศูนย์กลางอยู่ที่ผู้ประกอบพิธี มิใช่เกิดขึ้นลอยๆ โดยที่ประกอบพิธีนั้น เป็นผู้ที่มีอำนาจสูงสุด สามารถบงการให้เกิดสิ่งต่างๆ ซึ่งอยู่นอกกรอบของเหตุผลของสามัญสำนึกของสามัญชนจะคาดหวังได้
พิธีกรรมทางไสยศาสตร์นั้น จะบรรลุผลได้ก็ต่อเมื่อเงื่อนไขของพิธีกรรมทั้งหมดได้บรรลุ สิ่งนี้อาจเรียกได้ว่า เป็นการควบคุมคุณภาพของผู้ประกอบพิธีกรรม ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ โดยมีการแบ่งแยกที่ชัดเจน ระหว่างผู้ประกอบพิธี (คนใน) และผู้อื่นที่เข้าร่วมพิธี (คนนอก) ยิ่งพิธีกรรมที่มีความศักดิ์สิทธิ์เท่าใด ช่องว่างและเงื่อนไขที่แบ่งแยกระหว่างคนในและคนนอกยิ่งชัดเจนยิ่งขึ้นเท่า นั้น พร้อมกันนั้น คือ ความลึกลับที่คนในเท่านั้นที่มีสิทธิ์ที่จะเข้าใจ ส่วนคนนอกเป็นพวกที่ไม่มีสิทธิ์จะเรียนรู้สาระของพิธีกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้นเลย
ปัจจัยที่สำคัญที่สุดของไสยศาสตร์ คือ การร่ายมนตร์ หรือ คาถา ของผู้ประกอบพิธี ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ต้องกระทำให้ได้จังหวะที่พอเหมาะพอดีกับขั้นตอนต่างๆ ตลอดพิธีกรรม
ไสยศาสตร์ หากนำไปใช้ในทางที่ผิดก็เป็น ไสยศาสตร์มนต์ดำ
แนวคิดในเรื่องการสาธยายมนตร์นี้ คือ ความเชื่อที่ว่า อักขระนั้นเป็นสิ่งที่ไม่มีวันสูญสลาย และมนตร์ต่างๆ ที่ผู้ประกอบพิธีได้เปล่งออกจากปากของตนแล้ว ถือว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ สามารถยังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เกิดขึ้นได้ตรงตามวัตถุประสงค์ และหากเปล่งออกมาผิด ผลกระทบก็จะกลับเป็นวิบากแก่ผู้สาธยายนั้นเอง(ไสยศาสตร์มนต์ดำ)
นั่นหมายถึงความเป็นมงคลต่างๆ จะกลายเป็นอัปมงคล โชคจะกลายเป็นเคราะห์ และอำนาจที่ถูกใช้ไปเพื่อประทุษร้ายผู้อื่น(คาถามนต์ดำ) อำนาจนั้นก็จะย้อนกลับมาประทุษร้ายผู้ร่ายเวท และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนในแง่ของ ไสยศาสตร์ มนต์ดำ
เรื่อง - ภาพ... "ไตรเทพ ไกรงู" ที่มา...หนังสือพิมพ์คมชัดลึก วันที่ 1 เมษายน 2552

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น