วันพฤหัสบดีที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2558

พระอนุรุธคาถา เจริญภาวนาเป็นอาจิณ ห้ามพูดว่า "ไม่มี" "ไม่ได้"

เจริญภาวนาเป็นอาจิณ
ห้ามพูดว่า "ไม่มี" "ไม่ได้"

พระอนุรุทธเถระ
พระอนุรุทธะ เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าอมิโตทนะ ซึ่งเป็นพระอนุชาของพระเจ้าสุทโธทนะ ผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ ประสูติร่วมพระมารดาเดียวกัน ๓ พระองค์ คือ พระเชฏฐา (พี่ชาย) พระนามว่า มหานามะ พระกนิฏฐภคินี (น้องสาว) พระนามว่า โรหิณี รวมเป็น ๓ กับอนุรุทธกุมาร ถ้าจะนับตามลำดับพระวงศ์ก็เป็นพระอนุชาของพระบรมศาสดา อนุรุทธกุมารเป็นกษัตริย์สุมุมาลชาติ มีปราสาท ๓ หลังเป็นที่ประทับใน ๓ ฤดู สมบูรณ์ด้วยโภคทรัพย์ศฤงคาร* และบริวารยศ แม้แต่คำว่า ไม่มี ก็ ไม่เคยรู้จัก และไม่เคยได้สดับเลย

เมื่อพระบรมศาสดาประทับอยู่ที่อนุปิยนิคมของมัลลกษัตริย์ ในเวลานั้น ศากยกุมารซึ่งเป็นผู้มีชื่อเสียงมีคนรู้จักมาก ออกบวชตามพระบรมศาสดาเป็นจำนวนมาก วันหนึ่งเจ้ามหานามะผู้เป็นพระเชฏฐา ได้ปรารภกับอนุรุทธะผู้น้องว่า พ่ออนุรุทธะ ในตระกูลของเรายังไม่มีใคร ๆ ออกบวชตามพระบรมศาสดาเลย เจ้า หรือพี่คนใดคนหนึ่งควรจะออกบวช อนุรุทธะตอบว่า น้องเป็นคนที่เคยได้รับแต่ความสุขสบาย ไม่สามารถจะออกบวชได้ พี่บวชเองเถิด เจ้ามหานามะจึงกล่าวขึ้นว่า ถ้าอย่างนั้น เจ้าจงเรียนให้รู้จักการงานของผู้ครองเรือนเสียก่อน พี่จะสอนให้ เจ้าจงตั้งใจฟัง ครั้นกล่าวดังนั้นแล้ว เจ้ามหานามะจึงสอนการงานของผู้ครองเรือน โดยยกเอาวิธีการทำนาเป็นอันดับแรกขึ้นมาสอน เมื่ออนุรุทธะได้ฟังแล้วก็เห็นว่าการงานไม่มีที่สิ้นสุดเบื่อหน่ายในการงาน พูดกับพี่ชายว่า ถ้าอย่างนั้น พี่อยู่ครองเรือนเถิด น้องจักบวชเอง ครั้นอนุรุทธะกล่าวอย่างนั้นแล้วจึงเข้าไปหาพระมารดาทูลว่า แม่ หม่อมฉันอยากจะบวช ขอพระแม่เจ้าจงอนุญาติให้หม่อมฉันบวชเถิด แม้ถูกพระมารดาตรัสห้าม ไม่ยอมให้บวช ท่านก็ยังอ้อนวอนขอให้อนุญาตให้บวชเป็นหลายครั้ง เมื่อมารดาเห็น ดังนั้นจึงคิดอุบายที่จะไม่ให้อนุรุทธะบวช ดำริถึง พระเจ้าภัททิยะผู้เป็นพระสหายของอนุรุทธะ ท่านคงจะไม่ออกบวชเป็นแน่ จึงพูดว่า พ่ออนุรุทธะ ถ้าพระเจ้าภัททิยะบวชด้วยจงบวชเถิด อนุรุทธะได้ฟังอย่างนั้นแล้วก็ไปเฝ้าพระเจ้าภัททิยะ ทูลตามวาทะของผู้ที่คุ้นเคยกันว่า เพื่อนเอ๋ย บรรพชาของเรา เนื่องด้วยบรรพชาของท่าน ในตอนแรก พระเจ้าภัททิยะ ทรงปฏิเสธไม่ยอมบวช ในที่สุดเมื่อทนการอ้อนวอนไม่ได้ก็ตกลงใจยินยอมบวชด้วย อนุรุทธะจึงชักชวนศากยกุมารอื่นได้อีก ๓ คน คือ อานันทะ,ภคุ,กิมพิละ โกลิยกุมาร อีกองค์หนึ่ง คือ เทวทัต รวมทั้งอุบาลีผู้เป็นนายภูษามาลาเป็น ๗ พร้อมใจกันเข้าไปเฝ้าพระบรมศาสดาที่อนุปิยนิคม ทูลขออุปสมบทในพระธรรมวินัย เมื่ออนุรุทธะได้อุปสมบทแล้ว เรียนกรรมฐานในสำนักของพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร แล้วเข้าไปอยู่ในป่าปาจีนวังสมฤคทายวัน
เมื่อพระอนุรุทธะบำเพ็ญสมณธรรมอยู่ได้ตรึกตรองถึงมหาปุริสวิตก ๗ ประการ คือ
๑. ธรรมนี้เป็นธรรมของผู้มีความปรารถนาน้อย ไม่ใช่ของผู้มีความมักมาก
๒. ธรรมนี้เป็นธรรมของผู้สันโดษยินดีด้วยของที่มีอยู่ ไม่ใช่ของผู้ไม่สันโดษ
๓. ธรรมนี้เป็นธรรมของผู้สงัดแล้ว ไม่ใช่ของผู้ยินดีในหมู่คณะ
๔. ธรรมนี้เป็นธรรมของผู้ปรารภความเพียร ไม่ใช่ของผู้เกียจคร้าน
๕. ธรรมนี้เป็นธรรมของผู้มีสติมั่นคง ไม่ใช่ของผู้มีสติหลง
๖. ธรรมนี้เป็นธรรมของผู้มีใจมั่นคง ไม่ใช่ของผู้มีใจไม่มั่นคง
๗. ธรรมนี้เป็นธรรมของผู้มีปัญญา ไม่ใช่ของผู้มีปัญญาทราม

     เมื่อพระอนุรุทธะตรึกอยู่อย่างนี้ พระบรมศาสดาเสด็จมาถึงทรงทราบเหตุนั้นจึงทรงอนุโมทนาว่า ชอบละ ๆ อนุรุทธะ เธอตรึกตรองธรรมที่พระมหาบุรุษตรึกตรอง ถ้าอย่างนั้น เธอจงตรึกตรองธรรมที่พระมหาบุรุษตรึกข้อที่ ๘ ว่า "ธรรมนี้ เป็นธรรมของผู้ยินดีในธรรมที่ไม่ให้เนิ่นช้า ไม่ใช่ของผู้ยินดีในธรรมเนิ่นช้า"
     ครั้นตรัสสอนอนุรุทธะอย่างนี้แล้วก็เสด็จกลับสู่ที่ประทับ ส่วนพระอนุรุทธะบำเพ็ญความเพียรต่อไปก็ได้บรรลุ เป็นพระอรหันต์ ตั้งแต่นั้นมาท่านก็เล็งแลดูสัตว์โลกด้วยทิพยจักษุอยู่เสมอ เล่ากันว่ายกเว้นแต่เวลาฉันเท่านั้น เวลาที่เหลือท่านย่อมพิจารณาแลดูหมู่สัตว์ทั้งปวงด้วยทิพยจักษุ ด้วยเหตุนี้เอง พระผู้มีพระภาคจึงตรัสยกย่อง สรรเสริญท่านว่า เป็นผู้เลิศกว่า ภิกษุทั้งหลายฝ่ายข้างผู้มีทิพยจักษุญาณ ครั้นท่านดำรงชนมายุสังขารอยู่โดยสมควรแก่กาลแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน.
*ทรัพย์ศฤงคาร : ทรัพย์ที่ทำให้คนได้รับ เกิดความรัก ความชอบใจ

พระไตรปิฎกเล่มที่ 26 หน้า 402 พระอนุรุธคาถา  พระอนุรธอดีตชาติเคยเป็นคนยากจนเคยถวายทาน แด่พระอุปริฏฐปัจเจกพุทธเจ้า 1 ครั้ง ได้อธิษฐานไว้ว่าความไม่มีอย่าได้มีแก่ท่าน หลังตายจากเป็นคนยากจน ไปเกิดเป็นพระอินทร์ 7 ชาติ เกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ 7 ชาติ ชาติสุดท้ายเกิดเป็นลูกมหาเศรษฐีรวยมากตอนเป็นเด็กท่านเล่นกับเพื่อนหลายสิบ คนมารดาท่านทำขนมให้เด็กกินจนหมด พระอนุรุธสั่งคนไปขอขนมจากมารดาอีก มารดาท่านสั่งคนบอกพระอนุรุธ และเด็กๆ ว่าขนมไม่มีแล้วหมดแล้ว เด็กอนุรุธจึงบอกกับคนให้ไปบอกมารดาท่านว่าท่านจะเอาขนมไม่มีแล้วหมดแล้ว เพราะไม่เข้าใจคำว่าหมดไม่มีมารดาท่านจึง เอาจานเปล่าปิดฝาไว้เพื่อจะสอนเด็กอนุรุธว่าไม่มีหมด คือ จานเปล่า ผลบุญจากที่ท่านเคยอธิษฐานสมัยเป็นคนยากจนถวายทานแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า อธิษฐานขอคำว่าไม่มีอย่าได้ปรากฏแก่ท่านทุกๆ ชาติ บันดาลให้เทพเทวดาเอาขนมทิพย์มาใส่ในจานเปล่านั้น เด็ก อนุรุทธ และเพื่อนๆ รับประทานขนมทิพย์อร่อยถูกใจ จึงสั่งคนขอขนมไม่มีจากมารดาท่านอีก มารดาท่านก็ส่งจานเปล่าๆ ให้ทุกครั้ง เทพเทวดาก็ทำให้มีขนมทุกครั้งต่อมาเป็นหนุ่มท่านก็ขอบวชกับพระผู้มีพระภาค เจ้า ท่านนั่งเพ่งญาณภาวนาอยู่องค์เดียว ไม่สนใจในกามคุณทั้ง 5 คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ที่ถูกใจ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบจึงทรงเสด็จมาหาพระอนุรุทธทาง มโนมยิทธิ คือ แยกกายในออกจากกายเนื้อมาปรากฏกายเหมือนกายเนื้อมาจริงๆ พระองค์ท่านได้แสดงธรรมอันไม่เนิ่นช้าแก่พระอนุรุทธ ท่านพระอนุรุทธได้บรรลุพระนิพพานพร้อมด้วยพระอรหันต์ปฏิสัมภิทาญาณเป็นผู้ เลิศทางฌานสมาบัติ ท่านได้ตอบคำถามจากพระภิกษุก่อนที่องค์พระผู้มีพระภาคเจ้าจะปรินิพพานว่า ลมหายใจเข้า ลมหายใจออกมิได้มีแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้มีพระหฤทัยแจ่มใสตั้งมั่นคงที่ แต่พระพุทธองค์ยังไม่ทรงปรินิพพานก่อน พระพุทธองค์ทรงทำนิพพานเป็นอารมณ์ทรงอดกลั้นทุกขเวทนาทางกายด้วยพระหฤทัยอัน เบิกบานเสด็จออกจากจตุตถญาณ คือ ฌาน 4 แล้วจึงเสด็จดับขันธ์ 5 ปรินิพพาน ความพ้นจากนามกายได้อย่างวิเศษได้มีแก่พระหฤทัยของพระผู้มี พระภาคเจ้าแล้ว พระคุณเจ้าพระอนุรุทธ ท่านได้กล่าวอภิธรรมคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าในการรวบรวมพระธรรมคำ สั่งสอนของพระพุทธองค์เป็นหมวดหมู่ ตอนเริ่มแรกของการสังคายนาพระไตรปิฎกซึ่งมีพระคุณเจ้าพระมหากัสสป เป็นผู้ริเริ่มเป็นผู้นำ พวกเราท่านจึงได้รับพระธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระชินวร พระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีอยู่แล้วครบถ้วนถูกต้องตามเป็นจริง 100% เต็มอยู่ในหนังสือพระไตรปิฎกมาจนกระทั่งทุกวันนี้  พระไตรปิฎกเล่มที่ 24 หน้า 26 สมาธิสูตร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จงมีปัญญารักษาตนมีสติเจริญสมาธิตลอดเวลา จะได้ญาณทั้ง 5 เกิดขึ้นรู้ได้เฉพาะตนมี  ญาณที่ 1 ความรู้เกิดขึ้นว่า สมาธิมีความสุขกายสุขใจในปัจจุบัน และอนาคต ญาณที่ 2 มีความรู้ว่า การทำสมาธิเป็นทางแห่งอริยมรรค อริยผล ญาณที่ 3 มีความรู้ว่าสมาธิเป็นสุขที่ไม่ต้องใช้วัตถุเงินทองสมบัติ ญาณที่ 4 มีความรู้เกิดขึ้นสมาธินี้ละเอียดประณีตคนดีทำได้ ญาณที่ 5 มีความรู้เกิดขึ้นว่า มีสติเกิดสมาธิมีปัญญาห้ามกิเลสตัดขาดจากอวิชชา ตัณหา อุปาทาน อกุศลกรรม เป็นทางพ้นทุกข์ดับทุกข์ของจิต เสวยวิมุตติสุข พระนิพพานได้แน่นอนในชาติปัจจุบัน

จากพระไตรปิฎกเล่มที่ 17 หน้า 14 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละสิ่งนั้นเสีย สิ่งอันนั้นที่เธอละทิ้งคือร่างกาย ทรัพย์สมบัติไปได้แล้ว จะทำให้จิตใจมีเอกราชเป็นอิสระภาพ เป็นประโยชน์มีความสุขสะอาดเบิกบาน เป็นนิพพานอยู่ในใจ ดังนี้ เธอทั้งหลายจงเลิกละสนใจร่างกายเราร่างกายเขาเสีย ร่างกายทรัพย์สมบัติที่เธอละได้แล้วจะทำให้เธอมีความสุขไม่มีความทุกข์ต่อไป ตอนท้ายของมหาสติปัฏฐานสูตร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสอนว่า เธอทั้งหลายจงอย่าสนใจกายใน คือกายเราเอง อย่าสนใจกายภายนอก คือ กายผู้อื่น จงอย่าสนใจสรรพสิ่งทั้งหลายใดใดในโลกทั้งหมด เพราะการสนใจทำให้เกิดความพอใจ แล้วเกิดความลุ่มหลงในของมายา ของปลอม ของสมมุติ ท้ายที่สุดก็สูญสลายกลายเป็นอนัตตา คือ ความว่างเปล่า สนใจในของจริงดีกว่า ของจริงคือนิพพาน และของจริงคือจิตที่สะอาด มีเมตตาจิต มีศีล สมาธิ มีความฉลาดรอบรู้ในทุกสิ่งในโลกว่าแปรปรวนเปลี่ยนแปลง สูญสลาย นั้นคือมีวิปัสสนาญาณ หรือปัญญา

Category: ข้อธรรมจากพระไตรปิฏก ย่อโดยคุณแม่เกษร
****
คาถาพระอนุรุธคาถา


มัยหังปุตโต ปุญญะวากะตา ภินิหาโร ภะวิสสะติ
เทวะตะหิปาติง ปูเรตวา ปูวาปะหิตา ภะวิสสะตีติ

เจริญภาวนาเป็นอาจิณ
ห้ามพูดว่า "ไม่มี" "ไม่ได้"
เวลาคนมาขอแล้วจะมีทุกอย่าง

คาถาของหลวงปู่พระอนุรุทธะเถระเจ้า
เอามาจากหนังสือคู่มือเที่ยวชมถ้ำป่าไผ่