วันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2552

... แม่กูชื่อนางเสือง ...

พระนามสลักอยู่บนหิน แต่ไม่มีนักประวัติศาสตร์คนใดเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับพระนางไว้เลย

ราชินีองค์แรก ผู้เคยร่วมสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย เมื่อ พ.ศ. 1800 ได้รับความสนใจน้อยเหลือเกิน ประวัติศาสตร์บันทึกไว้เพียงไม่กี่บรรทัด ทั้ง ๆ ที่เป็นผู้อุ้มมหาราชมาก่อนใคร ๆ ทั้งหมดมัวแต่คำนึงถึงกษัตราธิราช จนไม่สนใจว่า สตรี คือ ครึ่งภาคของบุรุษ

นักเรียนท่องจำว่า กษัตริย์ไทยพระองค์แรก คือพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ แต่มิได้จดจำว่า พระราชินีคู่พระทัยของพ่อขุนพระองค์นั้นทรงพระนามเต็มว่ากระไรทำไมจึง “นางเสือง” พระนามนี้ได้จากศิลาจารึก และตั้งแต่นั้นมา ก็ยังไม่เคยปรากฏว่ามีนักประวัติศาสตร์คนไหนเรียกชื่อเต็มของพระนางเลย ซึ่งตามความเหมาะสมอย่างน้องควรจะเป็น “สมเด็จพระนางเจ้าเมือง พระบรมราชินี” ถ้าจะอ้างว่าภาษาไทยสมัยนั้นมักใช้คำโดดเป็นคำไทยแท้ ก็แล้วเพราะเหตุใดคำว่า “ศรีอินทราทิตย์” จึงมิใช่คำไทยแท้ หากแต่เป็นคำสันสกฤต ถึงแม้จะอ้างถ้อยคำตามจารึกของพ่อขุนรามคำแหงที่ว่า “แม่กูชื่อนางเสือง” แล้วเลยถือว่า “เสือง” คือพระนามเต็มแล้วก็ยังไม่ถูกต้องนัก เพราะนั่นเป็นเรื่องของลูกเรียกแม่ เรียกด้วยความรัก เรียกด้วยความเคารพ พ่อขุนรามคำแหงเรียกชื่อที่เรียกติดมาแต่ยังทรงพระเยาว์ เรียกแบบที่ง่ายที่สุด และรู้จักกันอย่างแพร่หลายที่สุด บางท่านว่า คำว่า “นาง” เป็นศักดิ์สูงสุดที่จะเรียกสตรีในสมัยสุโขทัยสูงกว่า “อ้าย” สูงกว่า “อี”

เรามาศึกษาความเป็นไปของนางเสืองดีกว่า

ข้อแรก ราชินีพระองค์นี้ คงเป็นชาวเมือง “บางยาง” เพราะก่อนที่พ่อขุนบางกลางท่าวจะมาครองกรุงสุโขทัย ก็เคยเป็นเจ้าเมืองบางยางมาก่อนและเมื่อเป็นเจ้าเมือง ก็ย่อมมีพระอัครชายา และต้องเป็นคู่ทุกข์คู่ยากกันด้วย เพราะเป็นสมัยที่สร้างตัวสร้างเมือง และสร้างประเทศ ด้วยเหตุนี้ เมื่อพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ครองกรุงสุโขทัย ก็คงไม่เลือกเอาชาวสุโขทัยเป็นพระบรมราชินี แต่คงแต่งตั้งนางเสืองว่า นางเสืองไม่ใช่ชาวสุโขทัย ที่พระองค์มาอุปภิเษกขึ้นใหม่ ก็คือ ศิลาจารึกวัดศรีชุมว่าที่ “…พ่อขุนบางกลางท่าวจึงเข้าเมือง พ่อขุนผาเมืองจึงอภิเษกพ่อขุนบางกลางท่าว เจ้าเมืองสุโขทัยให้ตั้งชื่อนตนแก่พระสหายเรียกชื่อ ศรีอินทรบดินทราทิตย์ นามเดิมกมรเตงอัยผาเมือง เมื่อก่อนผีฟ้า เจ้าเมืองศรีโสธรปุระ ให้ลูกสารชื่อนางสีขรมหาเทวี กับขันไชยศรี ให้นามเกียรติแก่พ่อขุนผาเมืองเหียมพ่อขุนบางกลางท่าวได้ชื่อศรีอินทรบดินทราทิตย์ เพื่อพ่อขุนผาเมือง เอาชื่อตนให้แก่พระสหาย”

จากข้อความนี้ จะเห็นได้ว่า ถ้าหากพ่อขุนบางกลางท่าวไม่มีพระอัครชยามาก่อน ก็คงจะกล่าวถึงการอุปภิเษกราชาสมรสในครั้งนี้ด้วยเป็นแน่

ข้อสันนิษฐานอันดับต่อไป ก็คือนางเสืองต้องเป็นคนสวย และเป็นการสวยที่เด่นและล้ำหน้าคนอื่น ๆ แน่ เพราะเจ้าเมืองมีอำนาจมาก ย่อมมีโอกาสที่จะเลือกได้เต็มที่ เนื่องจากในสมัยโบราณถือว่า หญิงมีความสำคัญน้อยกว่าชาย ดังนั้นรูปสมบัติขิฃองสตรีสมัยสุโขทัยจึงทรงคุณค่ายิ่ง โดยเฉพาะผู้จะเป็นอัครชายาของเจ้าเมือง

ในด้านคุณสมบัติ นางเสืองก็เป็นบุคคลที่เฉลียวฉลาด รอบรู้ สังเกตได้จากราชบุตร คือพ่อขุนรามคำแหง ซึ่งทรงความเป็นปราชญ์อย่างสมบูรณ์ รวมทั้งเป็นมหาราชองค์แรก และเมื่อพระองค์เป็นโอรสของนางเสือง พระองค์ฉลาด พระราชมารดาก็ย่อมฉลาดด้วย ท่ำนองลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น สมัยนั้นกษัตริย์ต้องกรำอยู่กับการศึกและการปกครอง ต้องปล่อยให้งานบ้านงานเรือนตกเป็นหน้าที่ของมเหสี

นางเสืองเป็นพระราชินีที่รักโอรสธิดาเป็นพิเศษ มีความชำนาญในเรื่องการครองเรือนเป็นอย่างดี ข้อยืนยันสนับสนุนก็คือ ศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแห่งที่ว่า

“เมื่อชั่วพ่อกู กูบำเรอแก่พ่อกู กูได้ตัวเนื้อตัวปลา กูเอามาแก่พ่อกู กูได้หมากส้มหมากหวาน อันใดกินอร่อย กินดี กูเอามาแก่พ่อกู กูไปตีหน้าวังช้างได้ กูเอามาแก่พ่อกู กูไปท่บ้านท่เมือง ได้ช้างได้งวง ได้ป่าวได้นาง ได้เงินได้ทอง กูเอามาเ
วนแก่พ่อกู”

ข้อความเหล่านี้ แสดงว่า นางเสืองได้อบรมพระราชโอรสให้มีความกตัญญู เคารพบิดามารดา หรืออย่างหน้อยก็เคารพผู้อาวุโส เช่นพระเชษฐา

“พ่อกูตาย ยังพี่กู กูพร่ำบำเรอแก่พี่กู ดังบำเรอแก่พ่อกู พี่กูตาย จึงได้เมืองแก่กูทั้งกลม”

นอกจากนี้ นางเสืองยังสอนราชบุตรให้เป็นคนกล้าหาญ เป็นคนกล้าที่ยอมเสี่ยงชีวิตได้เสมอ ถ้าเพื่อความกตัญญู ท่านคงจำจารึกนี้ได้

“เมื่อกูขี้นใหญ่ได้สิบเก้าเข้า ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด มาท่เมืองตาก พ่อกูไปรบขุนสามชนหัวซ้าย ขุนสามชนขับใสหัวขวา ขุนสามชนเกลื่อนเข้า ไพร่ฟ้าหน้าใส พ่อกูหนีญญ่าย กูบ่หนี กูขี่ช้างเนกพล กูขับเข้าก่อนพ่อกู กูต่อช้างด้
วยขุนสามชน ตนกูพุ่งช้างขุนสามชน ตัวชื่อมาสเมืองแพ้ขุนสามชนพ่ายหนี พ่อกูจึงขึ้นชื่อกู ชื่อพระรามคำแหง เมื่อกูพุ่งช้างขุนสามชน”

นางเสืองสอนราชบุตร ให้ตั้งอยู่ในธรรม เลิ่อมใสในพระบวรศาสนา ตอนนี้ศิลาจารึกว่า

“คนในเมืองสุโขทัยนี้ มักมักทานมักทรงศีล มักโอยทาน พ่อขุนรามคำแหง เจ้าเมืองสุโขทัยนี้ ทั้งชาวแม่ชาวยเจ้า ท่วยปั่วท่วยนาง ลูกเจ้าลูกขุนทั้งสิ้นทั้งหลาย ทั้งผู้ชายผู้หญิง ฝูงท่วยมีศรัทธาในพระพุทธศาสน์ ทรงศีลเมื่อพรรษาทุกคน เมื่อออกพรรษา กรานกฐินเดือนหนึ่งจึงแล้ว”

1 ความคิดเห็น:

  1. หลานปู่เอม4 ตุลาคม 2553 เวลา 00:27

    พระแม่ย่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธ์ คู่บ้านคู่เมืองสุโขทัย มีความศักดิ์สิทธ์และปาฏิหารย์หลายต่อหลายครั้ง มานับไม่ถ้วนนักแล ท่านเป็นพระมเหสีของเสด็จพ่อขุนศรีอิทราทิตย์ แลเป็นพระราชมารดาของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแห่งกรุงสุโขทัย ถ้าใครมาที่จังหวัดสุโขทัยแล้ว ก็ขอเชิญไปสักการะบูชาพระแม่ย่าได้ที่บริเวณศาลพระแม่ย่าติดริมน้ำยม บริเวณศาลจังหวัดสุโขทัย

    ตอบลบ