วันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2552

วิจัยพบ สวดมนต์ สมาธิ วิปัสสนา รักษาโรคได้


โดยผู้จัดการ ออนไลย์
ความ เจ็บป่วยเป็นส่วนหนึ่งของการมีชีวิต อยู่ในโลกและเป็นทุกข์อย่างหนึ่งที่คนทุกคนต้องพบทางกายและทางใจมากบ้างน้อย บ้าง การที่จะไม่ให้ร่างกายเจ็บป่วยเลยนั้นเป็นสิ่งเป็นไปไม่ได้แน่นอน เพราะเป็นธรรมชาติของร่างกายที่อวัยวะต่างๆ จะเสื่อมลงและถูกคุกคามด้วยโรค โอกาสที่ร่างกายจะเจ็บป่วยนั้นมีอยู่เสมอในทุกช่วงของชีวิต โดยเฉพาะในวัยเด็กที่อวัยวะแต่ละส่วนยังทำหน้าที่ได้ไม่เต็มที่ และในวัยชราที่อวัยวะเสื่อมลงทุกที พุทธศาสนาเกิดขึ้นเพื่อช่วยเหลือมนุษย์ให้พ้นทุกข์และพบสุข คำสอนและพิธีกรรมต่างๆ มีไว้เพื่อวัตถุประสงค์นี้ ถึงแม้ว่าโรคภัยไข้เจ็บเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ พุทธศาสนาก็ถือว่า การไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ เพราะจะทำให้เราสามารถปฏิบัติธรรมให้ได้รับประโยชน์เต็มที่ตามคำสอน
ในศาสนา ด้วยเหตุนี้พุทธศาสนาจึงมุ่งสอนวิธีปฏิบัติที่จะทำให้มีสุขภาพดีทั้งกายและทางใจ วิธีสำคัญที่พุทธศาสนาใช้ป้องกันและรักษาโรคคือ การสวดมนต์ การ ปฏิบัติสมาธิและวิปัสสนา วิธีเหล่านี้นอกจากจะเป็นประโยชน์แก่สุขภาพแล้ว ยังนำไปสู่ความสุขสูงสุดทาง ศาสนาได้ด้วย

การสวดมนต์ ปฏิบัติสมาธิและวิปัสสนาเป็นสิ่งที่ชาวพุทธทุกคนรู้จัก และปฏิบัติเป็นส่วนมาก มากน้อย ตามวาสนา วิปัสสนาหรือที่เรียกกันทั่วไปว่ากรรมฐาน เป็นจุดเด่นที่สุดของพุทธศาสนาและเป็นสิ่งสำคัญที่ดึงดูดคนต่างศาสนาให้หัน เข้าหาพุท ธศาสนา เพราะกรรมฐานให้ประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติทั้งทางโลกและทางธรรม ในทางโลกประโยชน์ของกรรมฐานที่สนใจกันมากในบรรดาชาวต่างประเทศเป็นเรื่องของ สุขภาพมา ก กว่าอย่างอื่น ส่วนประโยชน์ทางธรรมหรือทางศาสนาได้รับความสนใจน้อยกว่า ยิ่งมีผู้นำกรรมฐานไปประยุกต์ใช้บำบัดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ เช่นโรคความ เครียดและความดันโลหิตสูงเป็นผลสำเร็จมากเท่าไร ยิ่งทำให้ประโยชน์ของกรรมฐานทางด้านสุขภาพเป็นที่ กล่าวถึงกันมากขึ้น

หนังสือและงานวิจัยที่เกี่ยวกับประโยชน์ทางด้านนี้ ของกรรมฐานมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี ในสังคมตะวันตก ในเวลานี้ ชาวตะวันตกที่ไม่เคยได้ยินคำว่ากรรมฐานหรือเมดิเตชั่น (Meditation) ในภาษาอังกฤษแทบจะไม่มีเลย ส่วนในประเทศไทยนั้นผู้สนใจกรรมฐานมีจำนวนมากกว่าในตะวันตกโดยไม่ต้องสงสัย แต่งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพและกรรมฐานยัง มีอยู่น้อ ย มีจำนวนไม่เพียงพอ ที่จะนำมาสนับสนุนความเชื่อว่ากรรมฐานรักษาโรคได้

ในหนังสือชุด กฎแก่งกรรม ที่พระธรรมสิงหบุราจารย์ หรือหลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม วัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี พิมพ์เผยแพร่ทุกปี ผู้ปฏิบัติกรรมฐานหลายคนได้เขียนเล่าเกี่ยวกับผลงานของกรรมฐานที่มีต่อ สุขภาพของตน ผู้เล่าคงเล่าด้วยความจริงใจตามการสังเกตของตน แต่เรื่องที่พูดที่เล่าให้ฟังนี้ยังไม่มีการทดสอบความจริง จึงไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะใช้ยืนยันความเชื่อดังกล่าวได้ ด้วยเหตุนี้ในการกล่าวถึง ประโยชน์ในด้านสุขภาพ เราจึงจำเป็นต้องอ้างอิงเอกสารงานวิจัยของแพทย์ชาวตะวันตกเป็นสำคัญ

ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพจิตใจและโรคภัยไข้เจ็บ
ก่อนที่จะวิเคราะห์ประโยชน์ของกรรมฐานที่งานวิจัยต่างๆชี้ให้เห็น เราควรจะทราบก่อนว่า การมีสุขภาพดีไม่ได้หมายถึงการมีร่างกายแข็งแรงไม่มีโรค ภัยไข้เจ็บเท่านั้น แต่หมายรวมถึงการมีจิตใจดีงามควบคู่ไปด้วย พุทธ ศาสนามองดูสุขภาพในลักษณะนี้ เพราะถือว่าร่างกายและจิตใจมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันมากจนแทบจะแยกออกจากกัน ไม่ได้ การแพทย์แผนปัจจุบันยอมรับทัศนะที่กล่าวมานี้และชี้ให้เห็นว่า จิตใจมีความสำคัญต่อการเกิดโรคและการหายของโรค โรคทางกายหลายโรค เช่น ปวดศีรษะจากความเครียด โรคกระเพาะอาหาร โรคหอบหืด โรคหัวใจและโรคระบบทางเดินอาหาร เป็นผลมาจากสภาพของจิตใจที่ผิดปกติเป็นส่วนมาก

การวิจัยทางการแพทย์พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า สภาพของจิตใจมีอิทธิพลต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่เป็นป้อมปราการ ธรรมชาติ สำหรับป้องกันการโจมตีของสิ่งแปลกปลอมจากนอกร่างกาย เช่น แบคทีเรีย ไวรัส เซลล์มะเร็ง เพราะสภาพของจิตใจมีความสัมพันธ์กับระบบประสาทอัตโนมัติที่ทำให้เกิดผลต่างๆ ต่อร่างกายตามมา จิตใจไม่ปกติ เช่น มีความเครียด หรือความโกรธ จะไปกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติ ทำให้ร่างกายหลั่งสารเคมีทางปลายประสาทที่เชื่อมต่อ จากเซลล์ของภูมิคุ้มกันในไขกระดูก มีผลให้ภูมิคุ้มกันของเราลดลง ทำให้เราติดเชื้อหรือเป็นมะเร็งได้ง่าย ในทางตรงกันข้ามจิตใจที่ปกติปราศจากอารมณ์ที่เป็นพิษ เป็นภัย เช่น ความรัก ความเมตตา จะทำให้ภูมิคุ้มกันดีขึ้น (Danial Goleman , Emotional Intelligence) การค้นพบความเกี่ยวข้องระหว่างสภาพจิตใจและการ เปลี่ยนแปลงในร่างกายที่มีผลต่อระบบคุ้มกัน ทำให้แพทย์หันมาสนใจค้นคว้าหาวิธีบำบัดรักษาโรคภัย ไข้เจ็บในรูปแบบใหม่ โดยไม่ต้องใช้ยาแต่โดยการสร้าง เสริมปัจจัยต่างๆ ให้ร่างกายมีภูมิต้านทานดีขึ้น ให้ร่างกายค่อยๆรักษาตัวเอง (Andrew Weil , Spontaneous Healing)

วิธีการรักษาแบบนี้ เป็นทางเลือกใหม่ของการแพทย์ เรียกกันว่าวิธีการรักษาตามธรรมชาติ แพทย์ทั้งในประเทศและต่างประเทศที่นิยมการรักษาด้วยวิธีนี้มีจำนวนเพิ่มมาก ขึ้น สำหรับในประเทศไทย นายแพทย์ บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล และคณะ รวมทั้งศาสตราจารย์ ดร. สาทิส อินทรคำแหง และชุมนุมชีวจิต เป็นผู้บุกเบิก แนะนำวิธีการบำบัดนี้มาเผยแพร่ โดยเน้นการรับประทานอาหารธรรมชาติที่มีกากใย (เช่น ข้าวกล้องหรือ ข้าวซ้อมมือ ผักผลไม้) การขจัดพิษออกจากร่างกาย(เช่นด้วยวิธีอดอาหารหรือสวนทวาร) การออกกำลังกาย (เช่น การรำกระบอง การเต้นแอโรบิค) การฝึกหายใจ และการปฏิบัติสมาธิ (หรือสมถวิปัสสนา) เป็นสำคัญ

ปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมสุขภาพ ได้แก่ การออกกำลังกาย การพักผ่อน อาหาร สภาพสิ่งแวดล้อมและสภาพจิตใจ ประโยชน์ของการรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ (เช่น รับประทานผักและผลไม้มาก เนื้อสัตว์น้อย และงดอาหารปรุงแต่งที่มีสารเคมีเจือปน) การออกกำลังกาย (เช่น การวิ่ง การเดิน การฝึกไทเก๊ก จี้กง โยคะ) การพักผ่อนให้เพียงพอและการ อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ปราศจากมลภาวะที่มีต่อสุขภาพทางกายและทางใจเป็นที่รู้ กันทั่วไป แต่ในเรื่องของสภาพจิตใจที่มีผลนั้นยังมีผู้รู้น้อย การศึกษา ในการแพทย์สมัยใหม่พบว่า ถ้าหากเรามีความคิดในทางที่ดี (เช่น ไม่คิดมุ่งร้ายผู้ใดหรือไม่คิดเรื่องที่ทำให้เป็นทุกข์) และมีอารมณ์ที่ดีงาม (หรือที่เรียกกันในวงวิชาการว่า อารมณ์ในทางบวก) เช่น มีความเมตตากรุณา และความเอื้ออาทร ภูมิต้านทานจะดีขึ้น)

ดร. เดวิท แมคคลีแลนด์ แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาด ได้ทดลองด้วยการแบ่งอาสาสมัครออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งให้ดูภาพยนตร์เกี่ยวกับแม่ชีเทเรซาในศาสนา คริสต์ที่กำลังดูแลคนยากจนในเมืองกัลกัตตาในประเทศอินเดีย ด้วยจิตใจที่เปี่ยมไปด้วยความเมตตากรุณา อีก กลุ่มหนึ่งให้ดูภาพยนตร์เกี่ยวกับความโหดร้ายของทหารนาซีเยอรมันในสงครามโลก ครั้งที่ 2 ที่สังหารชาวยิวไม่น้อยกว่า 5 ล้านคน

ผล ปรากฏว่าอาสาสมัครกลุ่มหนึ่งมีความเมตตาสงสารเห็นอกเห็นใจคนยากจนมากขึ้น และกลุ่มที่สอง มีความโกรธ เมื่อเจาะเลือดดูปรากฏว่าอาสาสมัครใน กลุ่มแรกมีเซลล์ภูมิต้านทานชนิดที่เรียกว่า ที-เซล (ซึ่งมีหน้าที่ทำลายสิ่งแปลกปลอมในร่างกาย) เพิ่มขึ้น ในช่วงสั้นๆ และเมื่อให้อาสาสมัครแผ่เมตตา (หรือที่เรียกว่าเมตตาภาวนา) ต่อไปอีก 1 ชั่วโมง พบว่าที-เซล เพิ่มอยู่นาน แสดงให้เห็นว่าอารมณ์ที่ดีมีผลต่อสุขภาพโดยตรง ทำให้ภูมิต้านทานแข็งแกร่งขึ้น (Danial Goleman , Healing Emotions)

จิตใจที่แจ่มใสเบิกบานมีความสุขมีผลต่อการเพิ่ม ที-เซล เช่นเดียวกัน นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาด พบว่า เมื่อให้อาสาสมัครดูภาพยนตร์ตลกสนุกสนานแล้วเจาะเลือดดูพบว่า เซลล์ภูมิต้านทานที-เซลเพิ่มขึ้น (Danial Goleman , Emotional Intelligence) ในทำนองเดียวกันการศึกษาผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งเต้านมจำนวน 36 คน พบว่า 7 ปีผ่านไป ผู้ป่วยเสียชีวิตไปเพียง 24 ราย เมื่อตรวจสภาพจิตใจของพวกที่เหลืออยู่ ปรากฏว่าเป็นคนที่มีจิตใจแจ่มใสมีความสุข (Danial Goleman , Healing Emotions) นอกจากนั้น การศึกษาที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาดเหมือนกันชี้ให้เห็นว่ากลุ่ม คนที่มีอารมณ์ในทางบวกที่กล่าวมาเป็นคนมีทัศนคติที่ดีต่อโลกและชีวิต ไม่ค่อยมีปัญหาสุขภาพหรือเป็นโรคร้ายแรงเช่นมะเร็ง งานวิจัยที่มหาวิทยาลัยมิชิแกน ชี้ให้เห็นเพิ่มเติมว่าคนที่มีทัศนคติดังกล่าวส่วนมากแล้ว จะไม่มีอาการแทรกซ้อนหลังผ่าตัดและฟื้นตัวได้ดีกว่า คนที่มองโลกในแง่ร้าย (Danial Goleman , Healing Emotions)

สำหรับผลของการมีอารมณ์ในทางลบหรืออารมณ์ ที่เป็นพิษเป็นภัย เช่น อารมณ์โกรธหรือเกลียดนั้น ดร. จอห์น แบร์ฟูด แห่งมหาวิทยาลัยนอร์ทคาร์โลไรนา ได้ศึกษาผู้ป่วยที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นโรคหัวใจรุนแรง โดยทดสอบสภาพจิตใจเพื่อดูว่าผู้ป่วยเป็นคนมีโทสะมากน้อยเพียงใด และเมื่อพิจารณาดูความตีบแคบของ เส้นเลือดหัวใจเปรียบเทียบกันแล้วปรากฏว่า ผู้ป่วยที่มี อารมณ์โกรธมาก จะมีเส้นเลือดตีบมากกว่าคนที่ใจเย็น (Danial Goleman , Healing Emotions)

ดร. เรดฟอร์ด วิลเลี่ยม อาจารย์แพทย์แห่งมหา-วิทยาลัยดุกซ์ในรัฐนอร์ทคาโลไรนา ในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ติดตามนักศึกษาแพทย์ที่มีอารมณ์โกรธเรื้อรัง พบว่า กลุ่มที่มีอารมณ์โกรธน้อย และไม่ยาว นานเสียชีวิตไป 3 คน ในจำนวน 136 คน ส่วนกลุ่ม คนที่มีความโกรธเรื้อรัง ตายไป 16 คน ปัจจัยที่ทำให้คนเหล่านี้ตายก่อนอายุ 50 ปี คือการเป็นคนเจ้าโทสะ (Danial Goleman , Healing Emotions)

ใน ทำนองเดียวกัน การศึกษาที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาด พบว่าความโกรธเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยโรคหัวใจมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก ก่อนมาโร งพยาบาล 2 ชั่วโมง นอกจากนั้น การศึกษาคนไข้โรคหัวใจของมหาวิทยาลัยมีชื่อเสียงในประเทศสหรัฐอเมริกา คือมหาวิทยาลัยเยลและสแตนฟอร์ด พบว่า เมื่อ ติดตาม ผู้ป่วยที่มีอาการทางหัวใจครั้งแรกไป 10 ปี ปรากฏว่า ผู้ป่วยที่เป็นคนโกรธง่าย จะมีอัตราการตายสูงกว่ากลุ่ม ผู้ไม่โกรธง่ายถึง 3 เท่า (Danial Goleman , Healing Emotions) และผู้ป่วยที่ได้รับการช่วยเหลือให้จิตใจมีอารมณ์ดีงามแทนอารมณ์ในทางลบจะมี อัตราการ ตายลดลง 2 เท่าของผู้ป่วยที่ได้รับช่วยเหลือให้ปรับเปลี่ยนอารมณ์

นอกจากอารมณ์โกรธแล้ว อารมณ์ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพทางใจและทางกายอีกอย่างหนึ่ง คือ อารมณ์วิตกกังวล อีมิล กู เภสัชกร ชาวฝรั่งเศสพบในการวิจัยว่า คนที่มีโรคทางกาย เช่น วัณโรค ผู้ป่วยที่กำลังเสีย เลือด ผู้ป่วยที่มีอาการท้องผูก จะมีอาการของโรคเลว ลง ถ้าหากผู้นั้นมีความวิตกังวลแต่เรื่องโรคภัยไข้เจ็บของตน ความวิตกกังวลมักทำให้เกิดความเครียดที่ เป็นอันตรายแก่สุขภาพและเป็นสาเหตุของโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ รวมทั้งโรคมะเร็ง

น.พ.บรูช แมคอีแวน จิตแพทย์ของมหาวิทยาลัยเยล ได้ศึกษางานวิจัยทางการแพทย์เกี่ยวกับผลกระทบของความเครียดต่อสุขภาพ พบว่า ความเครียดทำให้ภูมิต้านทานของร่างกายลดต่ำลงเป็นเหตุให้เซลล์มะเร็งแพร่ หลายได้เร็ว ขึ้น และทำให้ร่างกายติดเชื้อไวรัสได้ เร็วขึ้น นอกจากนั้นยังทำให้ไขมันอุดตันในเส้นเลือด ที่หัวใจ เป็นเหตุให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดมาเลี้ยง ทำให้โรคเบาหวานกำเริบและอาการของโรคหอบหืดเลวลง เกิดอาการลำไส้อักเสบ ความเครียดที่เกิดติดต่อกันนานๆ มีส่วนทำให้เซลล์สมองเสื่อมลง ซึ่งส่งผลให้ความจำเสื่อมลงไปด้วย (Bruce Mcevan , Eliot Stellor , Stress and the Individual of Internal Medicine , 1993)

จิตแพทย์ เซลดอน โคเฮน แห่งมหาวิทยาลัยคาร์เนกี เมลลอน ทำงานร่วมกับหน่วยวิจัยเกี่ยวกับไข้หวัดของเมืองเซฟฟิลด์ประเทศอังกฤษ พบว่า ผู้ป่วย ที่ได้รับเชื้อหวัด ไม่ได้เป็นไข้หวัดทุกคน ถ้าหากมีภูมิต้านทานดี คนที่มีความเครียดน้อยจะติดหวัดได้ 27 % เมื่อได้รับเชื้อหวัดจะติดหวัดทันที ในขณะที่ผู้มีความ เครียดมาก จะติดหวัดเป็น 47 % นอกจากนั้น นายแพทย์ ผู้นี้ได้ทดลองด้วยการให้คู่สมรสจำนวนหนึ่งจดบันทึกไว้ติดต่อกัน 3 เดือน ปรากฏว่าคู่สมรสที่มีเรื่องทะเลาะเบาะแว้งกันบ่อยๆ ราว 3-4 วัน เมื่อได้รับเชื้อหวัดจะติดหวัดทันที เพราะภูมิต้านทานต่ำมาก เนื่องจากมีความเครียดสูง

นอกจากนั้น จิตแพทย์ผู้นี้ยังพบว่าในกรณีผู้ป่วยที่มักเป็นเริมที่ริมฝีปากหรืออวัยวะ เพศ เริมมักจะเกิด ขึ้นอีกในเวลามีความเครียด โดยวัดระดับแอนตี้บอดี (หรือสารภูมิต้านทาน ที่เม็ดเลือดขาวสร้างขึ้นมาเพื่อต่อต้านเชื้อไวรัสหรือสารเคมีที่เข้าสู่ ร่างกาย) ในเลือด ซึ่งแสดงให้เห็นภูมิต้านทานโรคต่อเชื้อไวรัสเริมและนายแพทย์โคเฮน ยังพบว่า นักศึกษาแพทย์หญิงที่เพิ่ง หย่าใหม่ๆ หรือผู้ที่ดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม (อัลไซ-เมอร์) มักจะมีเริมขึ้นบ่อยๆ เพราะมีความเครียดสูง (Sheldon Cohen, et al , ‘Psychological stress and susceptibility to common cold ,’ The new England Journal of Medicine , 1991)

การทดลองต่างๆ ชี้ให้เห็นความจริงของคำสอนใน พุทธศาสนาที่ว่า สาเหตุสำคัญของโรคคือกิเลสในใจเรา ซึ่งได้แก่ ความโลภ ความโกรธ ความหลง งาน วิจัยหลายชิ้นชี้ให้เห็นว่าโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ เป็นผลมาจากการเป็นคนมีความโลภ และความโกรธ เช่น ความโลภทำให้รับประทานอาหารไขมันมากเพราะติดใจในรสอร่อย ทำให้เกิดความอยากที่ยับยั้งไม่ได้ ในทำนอง เดียวกัน ความโกรธหรือความเกลียด มีผลร้ายต่อสุขภาพเช่นเดียวกับความเครียด ที่ทำให้เกิดโรคต่างๆ โดยเหตุที่สภาพจิตใจมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคต่างๆ ทั้งทางกายและทางใจ ดังนั้นความผ่อนคลายทั้งทางกายและใจ จึงเป็นวิธีสำคัญที่จะช่วยป้องกันและรักษาโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจ ความดัน เบาหวาน โรคจิตประสาท หอบหืด รวมทั้งโรคร้ายต่างๆ เช่น มะเร็ง วิธีการ ผ่อนคลายที่แพทย์แผนปัจจุบันให้ความ สนใจมากเป็นพิเศษ คือ นำการปฏิบัติในพุทธศาสนา มาใช้ในการบำบัดโรค มีการสวดมนต์ การแผ่เมตตา และการปฏิบัติสมาธิวิปัสสนากรรมฐานเป็นสำคัญ

แพทย์อีกคนหนึ่งที่นำวิชาเจริญสติไปใช้ได้ผลคือ น.พ. อี เลียตเดทเชอร์ นายแพทย์ผู้นี้พบว่า การ ให้ผู้ป่วยเจริญสติในอิริยาบถต่างๆในชีวิตประจำวัน จะช่วยป้องกันโรคทั้งประเภทเรื้อรังและเฉียบพลัน ช่วยรักษาโรคที่เป็นอยู่ได้ และส่งเสริมให้ร่างกายและจิตใจ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Elliot Dacher, Intentional Healing, 1996) นายแพทย์อีกท่านหนึ่งคือ นายแพทย์คาแบด ชิน เจ ได้ศึกษาคนไข้ที่มีอาการปวดเรื้อรัง ซึ่งไม่ตอบสนองต่อการรักษาตามแนวแพทย์แผนปัจุบัน อาการปวดในผู้ป่วยเหล่านี้มีปวดคอ ปวดหลัง ปวดไหล่ ปวดศีรษะ ปวดบริเวณใบหน้า เจ็บหน้าอกจากโรคหัวใจและปวดท้อง โดยให้ฝึกการเจริญสติ 10 สัปดาห์ พบว่า 50-60 % ผู้ป่วยมีอาการปวดลดลงและมีความทุกข์ เนื่องจากการปวดลดลงด้วย ในขณะเดียวกันใช้ยาแก้ปวดลดลง (Kobat-Zinn J, et al, The Clinical Use of Mindfulness Meditation for the Self-regulations of Chronic Pain, J Behav, Med, 1985)

น.พ. เคนเน็ต เอส แคฟเพ็น ศึกษาในผู้ป่วยที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันจำนวน 77 ราย โดยให้ผู้ป่วยเจริญสติปัฏฐาน 4 เป็นเวลา 10 สัปดาห์ พบว่า 50% มีอาการดีขึ้นปานกลาง และดีขึ้นมาก (Kenneth H. Kaplan, et al., The Impact of a Meditation-Base Stress Reduction Program on Fibromyalgia General Hospital Psychiatry,1993) นายแพทย์ชุแนล ชาพปิโร และคณะพบว่า การให้นักศึกษาแพทย์เจริญสติสามารถลดความเครียดและความ ซึมเศร้าลงได้ และ ในขณะเดียวกันทำให้นักศึกษามีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นมากขึ้นด้วย (Shunal Shapiro, et al., Effects of Mindfulness-Based Stress Reduction on Medical and Pre-Medical, Students J. of Beha, 1998)

ซี.เอ็น. อเล็กซานเดอร์และคณะ ได้ศึกษาผู้ป่วยสูง อายุ 73 ราย อายุเฉลี่ย 80 ปี โดยให้กลุ่มหนึ่งฝึกสมาธิ กลุ่มที่สองฝึกการเจริญสติ กลุ่มที่สามไม่ให้ทำอะไร พบว่ากลุ่มที่ฝึกสมาธิและที่ฝึกการเจริญสติจะมี ความสดชื่นร่าเริง สุขภาพจิตและร่างกายแข็งแรงดี มีความผ่อน คลาย ความดันโลหิตดีกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ฝึก และเมื่อติดตามไป 3 ปี พบว่า กลุ่มที่ฝึกสมาธิมีชีวิตอยู่ 100 % กลุ่มที่ฝึกการเจริญสติมีชีวิตอยู่ 87.5 % ส่วนกลุ่มที่ไม่ได้ฝึกอะไรเลยนั้นมีชีวิตอยู่ 64 % (C.N. Alexander, et al., Transcendental Meditation, Mindfulness,and Longevity : An Experimental Study with Elderly, J of Personality and Social Psyclology, 1989)

การปฏิบัติธรรมและการรักษาโรค
เราอาจสรุปได้ว่า งานวิจัยในเรื่องการสวดมนต์ การปฏิบัติสมาธิวิปัสสนากรรมฐาน มีอยู่จำนวนมากเพียงพอ ที่แสดงให้เห็นว่า การ ปฏิบัติธรรมด้วยการสวดมนต์ การแผ่เมตตาและการปฏิบัติสมาธิวิปัสสนากรรมฐาน สามารถรักษาโรคได้หลายโรค เพราะจิตใจและร่างกาย มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดมากจนแทบแยกออกจากกันไม่ได้ บทสวดมนต์ต่างๆ ที่หลวงพ่อแนะนำ เช่น สวดอิติปิโส เท่าอายุ หรือสวดคาถาพาหุงฯ มหาการุณิโกฯ ล้วนเป็นประโยชน์แก่สุขภาพทั้งนั้น ทำให้จิตใจแจ่ม ใสและมีพลัง ส่วนการแผ่เมตตา หรือเมตตาภาวนานั้น สามารถช่วยให้เกิดการผ่อนคลายได้มาก เพราะการแผ่ เมตตาเป็นการสร้างอารมณ์อ่อนโยนตรงข้ามกับโทสะหรือความโกรธ ถ้าทำบ่อยๆ จะทำให้ใจเย็นจิตเป็นสมาธิได้ง่ายและมีพลัง การแผ่เมตตาที่เกิดจากสมาธิมีพลังมากจนไม่น่าเชื่อ เช่น กระแสเมตตาของพระพุทธเจ้าที่สามารถหยุดช้างนาฬาคีรีที่ดุร้ายได้ทันที

ส่วนการปฏิบัติสมาธิกรรมฐาน มีคุณค่าต่อสุขภาพมากเช่นกัน ที่สำคัญคือทำให้หายเครียดได้ ความเครียดมีผลเสียต่อร่างกายมากทำให้เกิดโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคระบบทางเดินอาหาร โรคหอบหืด โรคเบาหวาน โรคความจำเสื่อม และโรคมะเร็ง เป็นต้น นอกจากนั้น การที่หลวงพ่อสอนเราให้ยึดถือพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งและให้นึกถึงพระรัตน ตรัยอยู่เสม อ ไม่ให้หลงงมงายในไสยศาสตร์นั้นก็เป็นวิธีสำคัญอีกวิธีหนึ่งในการบำบัดโรค เป็นการใช้จินตนาการ รักษาโรค แพทย์สมัยใหม่จำนวนมากเริ่มนำวิธีนี้มาใช้ในการบำบัดโรคให้ผู้ป่วย งานวิจัยทางการแพทย์พบว่า การฝึกคิดจินตนาการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาในร่างกาย อุณหภูมิของร่างกาย การใช้ออกซิเจนในเนื้อเยื่อต่างๆ การไหลเวียนโลหิต ความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจ ปฏิกิริยาของม่านตา การหลั่งน้ำลาย การหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร ระดับน้ำตาลในเลือด คลื่นสมองและสารเคมี และฮอร์โมนต่างๆ ในร่างกาย (Jordan C.S. devinyton K.T., Psychological Correlates of Eidetic Imagery and Induced Antiety Journal of Mental Ima- gery, 1579)

ดังนั้น แพทย์จึงนำวิธีการสร้างภาพในจิตมาใช้ในการบำบัดโรคต่างๆ เช่นโรคหัวใจ โรคเส้นเลือดตีบ โรคเบาหวาน โรคภูมิแพ้ หอบหืด โรคเครียด โรคนอนไม่หลับ เป็นต้น นอกจากนั้น ยังนำมาใช้ช่วยให้ภูมิคุ้มกัน ของผู้ป่วยดีขึ้น ทำให้ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัด ดมยาสลบ ทำฟัน ลดความเจ็บปวด และฟื้นตัวเร็วขึ้น นอกจากนั้น ยังใช้สำหรับสร้างความเชื่อมั่นในตัวเอง ความภาคภูมิใจในตัวเองให้เกิดขึ้นและแก้พฤติกรรมไม่ดีต่างๆ เช่น การกินยา สูบบุหรี่ และใช้ในการสร้างเสริมสุขภาพให้ดีอยู่เสมอ

ในพุทธศาสนาการใช้ความคิดจินตนาการมีแทรกอยู่ในวิธีปฏิบัติธรรมที่ช่วยให้ จิตเป็นสมา ธิ เช่นสอนว่า ในขณะที่กำลังสวดมนต์หรือฟังธรรม เราควรสร้าง จินตนาการว่าเรากำลังอยู่ต่อพระพักตร์ของพระพุทธเจ้าเสียงที่เราได้ยินได้ ฟังนั้นเป็ นเสียงของพระพุทธเจ้า พระธรรมที่ฟังอยู่ก็เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้ากำลังสอนเราโดยตรง แล้วคิดต่อไปว่าธรรมที่สอนเรานั้นไม่เกินวิสัยสำหรับเรา ถ้าเกินวิสัยแล้วพระพุทธเจ้าจะไม่สอน เรา การมีจินตภาพเช่นนี้ทำให้จิตใจชื่นบานที่เรียกว่าธรรมปีติเกิดขึ้นในใจ

เราจึงอาจกล่าวได้ว่าการใช้ความนึกคิดจินตนาการ ที่แพทย์สมัยใหม่แนะนำก็คือการมีอนุสติ 10 ประการนั่นเอง คือ พุทธานุสติ (การระลึกถึงบุญคุณของพระพุทธเจ้า) ธัมมานุสติ (การระลึกถึงคุณของพระธรรม) สังฆานุสติ (การระลึกถึงคุณของพระสงฆ์) จาคานุสติ(การระลึกถึงการบริจาคของตนที่ได้ทำไปแล้ว) เทวตานุสติ (การระลึกถึงธรรมที่ทำให้เป็นเทวดา) มรณานุสติ (การระลึกถึงความตาย) กายคตาสติ (การระลึกถึงร่างกายให้เห็นว่าเป็นของไม่งาม) อานาปานสติ (การกำหนดลมหายใจเข้าออก) และอุปสมานุสติ (การระลึกถึงพระนิพพานอันเป็นที่สงบระงับแห่งทุกข์ทั้งปวง) การมีอนุสติทั้ง 10 ประการนี้ หรือแม้แต่มีแค่อนุสติ 3 อย่าง คือ พุทธานุสติ ธัมมานุสติ และสังฆานุสติ สามารถ ทำให้จิตใจผ่อนคลายเป็นสมาธิในระดับต่างๆ ได้เช่น เดียวกับการเพ่งกสิณ

เนรูห์ อดีตนายกรัฐมนตรีอินเดีย สมัยที่อินเดียได้รับเอกราชจากอังกฤษใหม่ๆ เคยเขียนเล่าไว้ว่า ครั้ง หนึ่ง ในระหว่างที่ต่อสู้เพื่อเอกราชของอินเดีย ได้ถูกอังกฤษ จับขังในคุก ในขณะที่จิตใจหดหู่ เครียดและหม่นหมอง นั้น ได้มองเห็นพระพุทธรูปองค์เล็กที่ติดตัวอยู่ ทำให้รู้สึกแจ่มใสและหายทุกข์ เพราะพระพุทธรูปเตือนให้ระลึกนึกถึงชัยชนะของพระพุทธเจ้าที่มีต่อศัตรูทั้ง หลาย เช่นที่กล่าวไว้ในบทสวดพาหุงมหากา ทำให้จิตใจแช่มชื่น และมีพลังที่จะต่อสู้เพื่อเอกราชของประเทศชาติต่อไป

จึงเห็นได้ว่าการปฏิบัติธรรมด้วยวิธีการต่างๆ ที่หลวงพ่อได้เมตตาสั่งสอนนั้น เป็นประโยชน์แก่สุขภาพ มากมาย ทำให้มีสุขภาพดี มีภูมิต้านทานโรคสูง และช่วย ให้หายจากโรคเร็วขึ้น นอกจากนั้น ยังทำให้มีจิตใจดีงาม มีความเห็นแก่ตัว ความโลภ โกรธ หลง และความยึดถือ มั่นน้อยลง เกิดปัญญามองเห็นสิ่งต่างๆ ตามความเป็น จริง ยอมรับการเปลี่ยนแปลงตามเหตุปัจจัย สามารถปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้ด้วยจิตสงบ ด้วยเหตุนี้ โปรแกรมสุขภาพของแพทย์ที่มีชื่อเสียงทั่วโลก จึง มีเรื่องการสวดมนต์ การแผ่เมตตา และการปฏิบัติสมาธิ วิปัสสนากรรมฐานอยู่ด้วย

การกล่าวว่า การสวดมนต์ การแผ่เมตตา และการปฏิบัติสมาธิกรรมฐาน สามารถรักษาโรคได้นั้นมิได้หมาย ความว่าโรคทุกโรครักษาได้ด้วยวิธีดังกล่าว หรือผู้ปฏิบัติจะไม่ต้องเจ็บป่วยเลย ความเจ็บป่วยเป็นลักษณะหนึ่งของชีวิตในสังสารวัฏที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ นักปฏิบัติเมื่อเจ็บป่วยก็ต้องไปหาแพทย์ โรคบางโรคต้องรักษาด้วยยา หรือการผ่าตัดจึงจะหายขาดได้ สมาธิวิปัสสนากรรมฐาน ให้ผลดีในการรักษาโรคเรื้อรัง(เช่น โรคภูมิแพ้ โรคหอบ หืด) และโรคทางกายที่มีพื้นฐานมาจากสภาพจิตใจ แต่มีโรคจิตบางประเภทที่สมาธิวิปัสสนากรรมฐานรักษาไม่ได้ เช่น โรคหลงผิด โรคประสาทหลอนและโรคพหุบุคลิกที่มีบุคลิกลักษณะหลายอย่างในคนคนเดียวกัน(จำลอง ดิษยวณิช, ความเครียด ความวิตกกังวล และสุขภาพ, 2545)

สำหรับโรคเครียดนั้น ถ้าหากเป็นมากจนควบคุมตัวเองไม่ได้ สมาธิวิปัสสนากรรมฐานก็รักษาไม่ได้เช่นกัน หลวงพ่อได้เตือนเสมอว่า ผู้ ที่มีความเครียดมาก ไม่ควร ปฏิบัติสมาธิวิปัสสนากรรมฐานเป็นอันขาด เพราะอาจทำให้อาการรุนแรงขึ้นได้ แต่ควรไปผ่อนคลายด้วยวิธีการต่างๆ ก่อน เช่น การหายใจเข้ายาวและลึกแบบ ธรรมชาติ การออกกำลังกายหรือใช้ยาในกรณีที่มีความ จำเป็น เมื่อจิตใจผ่อนคลายจนถึงระดับที่ควบคุมตัวเอง ได้แล้ว จึงควรปฏิบัติสมาธิวิปัสสนากรรมฐาน ในงานวิจัยต่างๆ ที่กล่าวมา ความเครียดที่พูดถึง หมายถึง ความเครียดธรรมดา ที่ไม่รุนแรงมากจนพูดไม่รู้เรื่อง

การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานให้ประโยชน์แก่ตัวเรา ทั้งทางศาสนาและในด้านสุขภาพ ประโยชน์ประการหลัง เป็นสิ่งที่มองเห็นได้ง่ายและใช้เวลาไม่นานมาก แต่ประโยชน์ทางศาสนาเป็นสิ่งที่มองเห็นได้ยากกว่า เพราะเป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงภายในจิตใจของคนแต่ ละคนเอง คือเปลี่ยนจากจิตใจที่เป็นปุถุชนหนาทึบด้วย กิเลสตัณหามาเป็นจิตใจที่สงบและใสสว่างด้วยแสงของ ปัญญา หรือที่พุทธศาสนาเรียกว่าเป็นจิตของอารยบุคคลระดับต่างๆ คือ โสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี และอรหันต์ เป้าหมายที่สำคัญที่สุดของการปฏิบัติคือการบรรลุพระนิพพาน

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าเราจะปฏิบัติเพื่อประโยชน์ทาง การพัฒนาจิตใจให้เป็นจิตใจของอารยบุคคลดังกล่าวหรือปฏิบัติเพื่อสุขภาพ เราต้องรู้วิธีปฏิบัติที่ถูกต้องและสม่ำเสมอจึงจะได้ผล เราต้องอาศัยครูอาจารย์หรือ ผู้รู้ช่วยแนะนำและแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในขณะปฏิบัติแต่ละขั้นตอน จึงจะก้าวหน้าไปได้ ครูอาจารย์เป็น กัลยาณมิตรที่ผู้ปฏิบัติจะขาดไม่ได้ ไม่ว่าจะปฏิบัติเพื่อประโยชน์ทางศาสนาหรือเพื่อสุขภาพ ด้วยเหตุนี้ จึงนับได้ว่า พระอาจารย์สอนกรรมฐานทั้งหลาย เช่น พระธรรมสิงหบุราจารย์ วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี และพระ ธรรมวิสุทธิกวี วัดโสมนัสวิหาร มีบุญคุณใหญ่หลวง แก่เรา เป็นกัลยาณมิตรที่แท้จริงแก่ทุกคน นอกจากจะช่วยเหลือเรื่องการสอนให้เราเข้าใจธรรมและวิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง แล้ว พระอาจารย์เหล่านี้ยังช่วยเหลือให้กำลังใจ พลังจิตแบ่งปันบุญกุศลที่มีอยู่ให้เราด้วย

เมื่อสมาธิวิปัสสนากรรมฐานเป็นประโยชน์เช่นนี้ เราจึงควรสนใจและปฏิบัติอย่างจริงจัง การปฏิบัติเพื่อพัฒนาจิตใจให้เป็นพุทธจิตอาจเป็นสิ่งที่ยากสำหรับเรา แต่การปฏิบัติเพื่อสุขภาพเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายกว่าและเห็น ผลได้ไม่นาน และในขณะเดียวกันเป็นบันไดไปสู่เป้าหมายทางศาสนาด้วย การมีสุขภาพไม่ดี เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการปฏิบัติทางศาสนาที่เห็นได้ง่ายคือ ทำให้เราเสียเวลาและเงินทองในการรักษาตัว ไม่สามารถปฏิบัติธรรม หรือทำบุญสร้างกุศลให้แก่ตัวเองได้เต็มที่ การมีสุขภาพดีทั้งทางกายและทางใจเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้เราเดินทางไปสู่จุด หมายปลาย ทางของชีวิตศาสนาได้ง่ายขึ้น สุขภาพ เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการสร้างให้เกิดขึ้นแก่ตัวเองด้วยการกระทำของตนเอง เราต้องไม่ลืมคำกล่าวของพระพุทธองค์ที่ว่า “อโรคยปรมา ลาภา” (ความไม่มีโรคเป็น ลาภอันประเสริฐ) สุขภาพดีเป็นสิ่งดีที่สุดของชีวิต เราจะมีสุขภาพดีได้ ก็ต้องมีความอุตสาหะต้องใช้ความพากเพียรพยายามสม่ำเสมอ ทำให้ตัวเองมีสุขภาพดีและรักษาสุขภาพดีให้อยู่กับเราจนตลอดอายุขัย

เรา โชคดีมากที่เป็นพุทธศาสนิกชน เพราะศาสนาพุทธมีทั้งคำสอนและวิธีปฏิบัติที่จะทำให้เรามีสุขภาพดี และหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง ศาสนาพุทธเป็นเสมือนเพชรเม็ดงามที่ติดตัวเราอยู่ เราไม่ต้องไปแสวงหาเพชรที่ไหนอีกแล้ว สิ่งที่ควรทำเวลานี้คือใช้เพชรเม็ดนี้ ให้เป็นประโยชน์แก่ชีวิต ก่อนที่จะสายเกินไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น